การตรวจคัดกรองมะเร็งในผู้สูงวัย

การตรวจคัดกรองมะเร็งในผู้สูงวัย

การตรวจคัดกรองมะเร็งในผู้สูงวัย

การตรวจคัดกรองมะเร็งในผู้สูงวัย

ตรวจมะเร็ง คืออะไร?

มะเร็ง ถือเป็นภัยใกล้ตัวที่ไม่ว่าใครก็ไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตัวเอง ดังนั้น การป้องกันที่ดีที่สุด คือการดูแลสุขภาพ รวมถึงหมั่นตรวจสุขภาพ ตรวจมะเร็ง เป็นประจำทุกปี เพราะหากพบว่าผู้สูงอายุเป็นโรคมะเร็งขึ้นมา จะช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยและรักษาได้อย่างทันท่วงที ป้องกันโอกาสในการสูญเสียในอนาคตได้

แต่ก่อนอื่น เรามาทำความใจกันก่อน ว่าโรคมะเร็งคืออะไร? มีผลเสียต่อชีวิตอย่างไรบ้าง

โรคมะเร็ง เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ในร่างกาย ทำให้กลายเป็นก้อนเนื้อลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆ ของร่างกาย มีการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วผ่านระบบเลือด หรือระบบทางเดินน้ำเหลือง 

เปรียบเสมือนเนื้อร้ายที่ทำให้ร่างกายของเราอ่อนแอลง 

โดยปกติ มะเร็งแบ่งออกเป็น 4 ระยะ หากผู้ป่วยพบก้อนเนื้อผิดปกติ ตั้งแต่ในระยะแรก จะมีโอกาสรักษาได้หายขาด สูงกว่ามะเร็งในระยะอื่นๆ  แต่หากเราปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา จะทำให้มะเร็งแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ อย่างรวดเร็ว พัฒนาจนกลายเป็นมะเร็งระยะที่ 4 หรือมะเร็งระยะแพร่กระจาย ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เป็นมะเร็งระยะที่ 4 มักจะรักษาไม่หายขาด และอาจได้รับความทรมานจากการการรักษาอีกด้วย

ตรวจมะเร็ง จึงช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที ซึ่งหากแพทย์พบความผิดปกติของเนื้อเยื่อก่อนที่จะพัฒนาเป็นมะเร็งนั้น จะช่วยให้โอกาสในการรักษาประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น และเป็นการป้องกันไม่ให้เนื้อร้ายชิ้นนี้ ลุกลามไปยังส่วนอื่นๆของร่างกาย ยิ่งถ้าเป็นโรคมะเร็งระยะต้น แพทย์จะสามารถรักษาได้ง่ายขึ้น และมีโอกาสกำจัดมะเร็งให้หมดไปจากร่างกายเราได้อย่างสมบูรณ์

ตรวจมะเร็ง เหมาะสำหรับใครบ้าง?

เนื่องจากการตรวจมะเร็ง ช่วยให้แพทย์สามารถตรวจพบเนื้อเยื่อผิดปกติในร่างกายที่ยังไม่พัฒนากลายเป็นมะเร็งระยะที่ 4 ได้ ดังนั้น กลุ่มเป้าหมายของการตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง จึงควรเป็นคนที่ร่างกายแข็งแรง ไม่มีอาการผิดปกติ หรือสัญญาณของโรคมะเร็งเกิดขึ้น แม้ว่าการตรวจโรคมะเร็งในกลุ่มผู้สูงวัย เป็นสิ่งที่ควรทำอยู่แล้ว แต่ในรายที่อาการผิดปกติ หรือสงสัยว่าตัวเองกำลังเสี่ยงเป็นมะเร็งอยู่นั้น จะต้องได้รับการตรวจที่เร็วขึ้น ถี่ขึ้น หรือตรวจเป็นพิเศษ ตามปัจจัยและความเสี่ยงของมะเร็งแต่ละประเภทนั่นเอง

เราควรตรวจมะเร็งอะไรบ้าง และตรวจอย่างไร?

สำหรับการตรวจคัดกรองนั้น จะมีวิธีที่แตกต่างกันตามมะเร็งแต่ละชนิด โดยในวันนี้ เราจะพูดถึงประเภทของมะเร็งที่พบบ่อยมากที่สุดในกลุ่มผู้สูงอายุ

1. มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก 

มะเร็งประเภทนี้ แนะนำให้ตรวจในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป โดยการตรวจมี 2 แบบ ได้แก่ “การส่องกล้องลำไส้ใหญ่” ซึ่งวิธีนี้จะทำให้เรามองเห็นผนังลำไส้ได้อย่างชัดเจน และสามารถตัดเนื้อเยื้อที่ผิดปกติไปตรวจสอบได้เลย หากผลตรวจเป็นปกติ เราสามารถเว้นการตรวจได้ถึง 5-10 ปี 

ส่วนการตรวจอีกแบบ คือ “การตรวจอุจจาระ” เพื่อดูว่ามีเลือดออกแฝงในระบบทางเดินอาหารหรือไม่ ซึ่งการตรวจด้วยการใช้กระบวนการทางเคมี จะได้ผลที่แม่นยำมากกว่าด้วยการดูด้วยตาเปล่า ข้อดีของการตรวจอุจจาระ คือความสะดวกของผู้ป่วย เพราะใช้เวลาเตรียมตัวน้อยกว่า ขั้นตอนไม่เยอะ ค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการตรวจด้วยการส่องกล้อง แต่หากผลการตรวจอุจจาระผิดปกติ เราจำเป็นต้องยืนยันผลตรวจด้วยการส่องกล้องลำไส้ใหญ่อีกรอบหนึ่ง นอกจากนี้ หากผลตรวจอุจจาระเป็นปกติ ผู้สูงอายุควรตรวจซ้ำในทุกๆปี จึงจะได้การคัดกรองที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ เมื่อเทียบกับการส่องกล้อง 

2. มะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม เป็นหนึ่งในมะเร็งที่พบบ่อยมากที่สุดสำหรับผู้หญิงไทย แนะนำให้ผู้หญิงทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 45-50 ปีขึ้นไป ควรรับการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์แมมโมแกรม  (Mammogram) ร่วมกับการทำอัลตราซาวด์เต้านม (Ultrasound) 

หากผลตรวจออกมาเป็นปกติ เราควรตรวจซ้ำทุก ๆ 1 – 2 ปี เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งเต้านมที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่หากเราไม่สามารถทำแมมโมแกรม เราสามารถตรวจด้วยตัวเองง่ายๆ โดยการคลำเต้านมเพื่อดูว่ามีก้อนเนื้อผิดปกติเกิดขึ้นหรือเปล่า ซึ่งการตรวจด้วยวิธีนี้ แม้จะมีความแม่นยำน้อยกว่าแบบแมมโมแกรม แต่ก็ถือว่าเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย สำหรับในรายที่พบว่ามีก่อนเนื้อผิดปกตินั้น อาจจะต้องตรวจชิ้นเนื้อเพิ่มเติม เพื่อดูว่ามีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมหรือไม่

3. มะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูก ถือเป็นมะเร็งที่อันตราย และมีอัตราการเสียชีวิตสูง แนะนำให้ตรวจในผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 20-30 ปีขึ้นไป และควรตรวจซ้ำทุก 3-5 ปี ขึ้นอยู่กับเทคนิคที่ใช้ในการตรวจ ในรายที่ผลการตรวจเป็นปกติตลอด สามารถหยุดตรวจได้หลังอายุ 65 ปี ส่วนรายที่มีผลการตรวจผิดปกติ จะต้องเข้ารับการตรวจชิ้นเนื้อเพิ่มเติม หรือทำการรักษาเพื่อกำจัดชิ้นเนื้อที่ผิดปกตินี้ ก่อนจะกลายเป็นมะเร็งปากมดลูก ช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาให้หายขาดมากขึ้น 

มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบบ่อยในคนไทย และตอบสนองต่อการรักษาได้ดีหากตรวจพบมะเร็งในระยะแรกๆ มะเร็งทั้งสามชนิดนี้จึงแนะนำให้ตรวจคัดกรองทุกคนที่มีอายุถึงเกณฑ์ สำหรับมะเร็งชนิดอื่น ๆ ควรรับการตรวจคัดกรองหากมีความเสี่ยง ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเป็นรายบุคคล

แต่ถ้าอยากสุขภาพดี เพิ่มลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง อ่านบทความเกี่ยวกับ การวางแผนชีวิตวัยเกษียน